งานสุขภาพจิตโรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โทร 035 - 378032 - 3 ต่อ 204 , 6255

++ ความเป็นมา

จากการเฝ้าระวังปัญหาในกลุ่มเยาวชนพบว่า มีอัตราการฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเองค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 43.9 ของกลุ่มอายุ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ตั้งครรภ์อายุน้อย ติดยาและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากเหตุหลายปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง งานสุขภาพจิตจึงได้ร่วมกับชุมชนในการจัดทำโครงการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างให้เยาวชนมีความเข้มแข็งทางใจนำไปสู่การแก้ไขป้องกันปัญหาเยาวชนอย่างยั่งยืน

++ วัตถุประสงค์ เพื่อให้......

เยาวชนได้มีโอกาสแสดงออกในกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของเยาวชนเอง โดยมีผู้ใหญ่จากองค์กรต่าง ๆ เป็นฝ่ายสนับสนุน

++ แนวคิดพื้นฐาน การสร้างความเข้มแข็งทางใจ โดยให้.......

1. เยาวชนได้ทำสิ่งดี ๆ ให้กับชุมชน
2. เยาวชนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่นอกครอบครัว
3. ชุมชนมีวัฒนธรรมของการร่วมมือช่วยเหลือกัน
4. ชุมชนมีสายสัมพันธ์ที่ดีและมีความมั่นคง

++ บูรณาการไปใช้ โดยช่วยให้.....

1. เยาวชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา พัฒนาตนเอง
2. เยาวชนมีพื้นที่ในการเรียนรู้และแสดงออกในทางสร้างสรรค์
3. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4. เยาวชนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

++ การดำเนินงาน

ตั้งแต่ประชาคมจนถึงสรุปบทเรียนเป็นระยะเวลา 9 เดือน

++ ขั้นที่ 1 สืบค้นปัญหาและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยกระบวนการ AIC

เพื่อให้ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และมีผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ

++ ขั้นที่ 2 จัดตั้งองค์กร พัฒนาศักยภาพแกนนำ และวางแผนดำเนินงานในพิ้นที่

เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ทักษะในการเป็นผู้นำ ผู้ตาม พัฒนาเครือข่ายให้เกิดความสามัคคีรวมกลุ่มเหนียวแน่นเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

++ขั้นที่ 3 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและชุมชนมีส่วนร่วม

เพื่อให้เยาวชนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่นอกครอบครัวเกิดความเอื้ออาทรระหว่างกันและมีมุมมองใหม่ ๆ ในการจัดกิจกรรม

++ ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สืบสานความสัมพันธ์ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้เยาวชนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่นอกครอบครัวเกิดความเอื้ออาทรระหว่างกันและมีมุมมองใหม่ ๆ ในการจัดกิจกรรม

++ ผลลัพธ์โครงการ

การจัดกิจกรรมให้สอดรับกับแนวคิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในระดับชุมชนนี้ช่วยให้เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แสดงพฤติกรรมในทางบวกเพิ่มมากขึ้น มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ใหญ่ในชุมชน ไม่มีผู้เสพยาหน้าใหม่ ปัญหาด้านจิตสังคมลดลงอย่างชัดเจน ช่วยให้ท้องถิ่นมีการจัดการด้านเยาวชนที่สนองต่อนโยบายได้อย่างเหมาะสม ชุมชนมีความพึงพอใจและขยายผลไปยังตำบลอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ